วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สีของไก่ชน


1. ประดู่หางดำ มีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ดังนี้ ปาก สีดำ ( ห้ามปากแดงหรือขาว ) ปากจะต้องอูมใหญ่ โคนปากใหญ่คล้ายนกแก้ว ปากบนจะมีร่องน้ำ 2 ข้างระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง ตา ตาขาวหรือตาสีน้ำข้าว หรือตาที่นักเลงไก่เรียกว่า ตาปลาหมอตาย หงอน เป็นหงอนหิน จะไม่มีจักเลย สร้อยคอ สีประดู่ยาวประบ่า ปีก จะใหญ่และยาว สร้อยปีก สีประดู่ ระย้าประก้น ขนลำตัว ปีกและหางพัด มีสีดำ หางกะลวย สีดำ แข้ง เล็ก เดือย ทุกอย่างสีดำ ตัวผู้กับตัวเมียไม่เหมือนกัน มีแตกต่างกันที่ตัวเมียไม่มีสร้อย ประดู่ดำ ปากดำ แข้งดำ ตาดำ (ถ้าหนังดำเรียก แสมดำ) ถ้าเป็นสีประดู่อ่อนๆ และมีสีออกไปทางแดง เรียกว่าประดู่แดง ถ้าตั้งแต่โคนขนจนถึงกลางของขนสร้อยคอสร้อยหลังเป็นสีขาวต่อจากนั้นจึงเป็นสีประดู่ โดยอาจมองเห็นสีขาวได้เลย หรืออาจต้องเปิดขนจึงจะเห็น สีขาว หรือขนสร้อยบางเส้นอาจเป็นสีขาวทั้งเส้น เรียก ประดู่เลา ไก่ประดู่เลา ประดู่แดง ต้องมีหางขาวจึงจะสวย ถ้าตรงกลางสร้อยคอ สร้อยหลังเป็นสีเขียว แต่ตรง ขอบของขนและตรงปลายขนเป็นสีประดู่ เรียกเขียวประดู่ หรือประดู่เขียว 2. เหลืองหางขาว มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้ สี ออกเหมือนดอกโสน ขาวอมแดง ขาวอมเหลือง ปาก ปากใหญ่ขาว คือ ปากสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง ปากยาวอวบใหญ่คล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงกลางนูนเป็นสันราง ตา ตาขาวจะมีเส้นสีแดงๆ เรียกว่าตาเพชร ตาเป็นลักษณะตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ เล็กหรี่ รอบตาดำสีขาวอมเหลือง หาง ขนหางกระรวยมีสีขาว พุ่งออกยาวมองเห็นได้เด่นชัด ถ้ายิ่งขาวและยาวมากๆ จะดีมาก ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายหางโค้งตกลงเพียงเล็กน้อย ขาแข้งและเดือย มีสีขาวอมเหลือง เป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดมีลักษณะแข็งและหนาแน่นเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ ไม่มีสีอื่นๆปนเลย หงอน ด้านบนของหงอนจะบาง เรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนที่ติดกับหนังศรีษะหนาแน่น อาจมีลักษณะเป็นหงอนแจ้ หงอนหิน หงอนบายศรี ตุ้มหู จะมีสีแดงสีเดียวกับหงอน ไม่มีสีขาวเลย ตุ้มหูมีขนาดเล็ก รัดรับกับใบหน้า ไม่หย่อนยาน เหนียง เล็ก รัดติดกับคาง ไม่ยานหรือไม่มีเหนียง รูปหน้า เล็ก แหลม ยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมัน กะโหลกศรีษะหนาและยาว อก อกไก่จะแน่นกลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกหนา ยาว และตรง หลัง เป็นแผ่นกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก มองดูแล้วเรียบตรง ไม่โค้งนูน ไหล่ ตั้ง ยกตรง มีความกว้างพอสมควร คอ ยาว ใหญ่ กระดูกข้อถี่ ปั้นขา จะใหญ่แข็งแรง มีเนื้อมาก กล้ามเนื้อแน่น สร้อยคอ เหลือง หรือเหลืองแกมส้ม สร้อยคอยาวต่อกับสร้อยหลัง สร้อยหลัง เป็นสีเดียวกับสร้อยคอ ควรเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มตั้งแต่โคนคอจนถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า สร้อยปีก สีเดียวกับสร้อยคอ เรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกจนถึงปีกชัย มองดูเป็นแผ่น 3. สีเขียว หรือ เขียวเลา ลักษณะโดดเด่นโดยส่วนรวมก็คือ มีสีขาวปนนิดๆ คล้ายประดู่เลา เช่น ปาก กกปาก แข้ง เรียกว่าเขียวเลา สีตัว ดำอมเขียว หรือน้ำเงิน สร้อย โคนสร้อยขาว ปลายสร้อยเขียว ขนปีก สีขาวปนดำ เช่น ขนขาวเป็นบางส่วน ขาวทั้งเส้น ดำทั้งเส้น แต่ควรจะขาวสลับดำ หางกระรวย ขาว อาจจะมีสีขนสีขาวสัก 3-5 เส้น เดือย ใหญ่ ท้อง แข็ง ส่วนไก่ตัวไหนที่มีขนตามตัวสีดำ สร้อยคอเขียว สร้อยหลังเขียว ปากขาว แข้งขาว หางขาว เรียก เขียวพาลี ถ้าขนตามลำตัวดำ สร้อยหลังเขียว สร้อยคอเขียว แต่ที่ขอบตอนปลายของสร้อยคอมีสีเหลืองทอง เรียก เขียวสร้อยทอง 4. สีกรด มีลักษณะเหมือนสีนกกรด คือ สีจะออกแดง ปีกแดง ลำตัวจะออกสีโกโก้ ปากขาวใหญ่ หางขาวต้องเป็นสีขาวสนิท ถ้าก้านหางแดง หางต้องดำสนิท ไม่มีขาวปน 5. สีเทา ลักษณะโดดเด่น ที่สังเกตได้ คือ ขนตามตัวเป็นสีเทา อาจเข้มเกือบดำ หรือเทาจางๆเกือบขาว สร้อยคอ สีเทา หรือ อาจจะเป็นสีเดียวกันกับสีตัว แต่อาจจะเข้มกว่า หรือจางกว่าสีตัวก็ได้ ขนปีก ตามปกติจะเป็นสีเทา หรืออาจเป็นสีเดียวกับตัว แต่อาจเข้มกว่า หรือจางกว่าสีตัวก็ได้ ขนหาง สีเทา อาจเป็นสีเดียวกับตัว หรืออาจเป็นสีเข้มเกือบดำ หรือดำสนิท หรือสีจางเกือบขาว หรือขาวก็เคยพบ ถ้าสร้อยหลังสีเหลืองเรียกเทาทอง หรือสร้อยหลัง สีประดู่ สาปปีกสีประดู่เรียกเทาประดู่ สร้อยหลังสีประดู่แดงหรือทับทิม สาปปีกออกสีทับทิมแดงเข้มเรียกเทาแดง ,เทาทองแดง ถ้าสร้อยหลังมีสีเขียวเข้มหรือเขียวๆ เทาๆเรียกเทาดำ 6. สีลาย สีออกลายเหมือนนกกาเหว่า แต่ต้องเป็นลายปนเหลือง ปากขาวหนาใหญ่ หางขาวไม่มีปนดำ แข้งขาวปนเหลือง เดือยใหญ่ 7. สีดำ ไก่สีดำหมายถึงไก่ที่ไม่มีสีอะไรมาเจือปน สีต้องดำสนิท ปากใหญ่หนาดำสนิท ตาแดงเหมือนเหยี่ยว หรือเหมือนนกกรด หางดำไม่มีขาวปน เดือยใหญ่และดำ แข้งดำแข้งไม่เขียว 8. ด่างน้ำดอกไม้ หรือไก่ด่าง สีออกเหลืองปนขาวเป็นจุด หรือมีสีดำแซม สร้อย สีเหลืองปนขาว ขนปีก สีขาวสลับกับดำ สีตัว สีขาวสลับดำ หางกระรวย สีขาวสลับดำ สีหาง สีขาวสนิท หางพัด สีขาวสลับดำ แข้ง ขาวปนเหลือง เล็บ ขาว หรือขาวสลับดำ ปาก สีขาวเหลือง เดือย ใหญ่

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ไก่


การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ไก่ โดยปกตินักเลงเล่นไก่ชนมักจะหวงพันธุ์ของแม่ไก่มากกว่าของพ่อไก่ เพราะถือกันว่าสายเลือดของแม่จะให้ได้ลูกไก่พันธุ์ที่ดี วิธีที่จะหาพ่อพันธุ์ให้ได้ไก่เก่ง ท่านต้องเป็นซอกแซกไปเที่ยวตามบ่อนไก่ชนบ่อย ๆ และคอยดูว่าไก่ตัวไหนที่เก่ง คือตีแม่น ชั้นเชิงดี หัวใจทรหด อดทน ไม่หนีง่าย ถ้าไก่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ เวลาชนเสร็จแล้วชนะ หรือแพ้ จะตาบอดหรือไม่ก็ตาม เอามาทำพ่อพันธุ์ได้ (ตามตำราบอกว่าเอาไก่ที่แพ้มาทำพ่อไก่มันให้ลูกเด็ดนักแล) ท่านซื้อตอนนั้นราคาอาจจะไม่สูงนัก เพราะนักเลงไก่เขาไม่ค่อยเก็บเอาไว้ แต่ถ้าท่านไม่สามารถทำได้ดังกล่าว ท่านต้องไปหาซื้อเอาตามบ้านนักเล่นไก่ชน ส่วนแม่พันธุ์ก็ควรให้มีคุณสมบัติเหมือนตัวผู้ เพราะการผสมพันธุ์ ถ้าทำโดยวิธีการสุกเอาเผากินแล้วจะทำให้ท่านได้ไก่ดียาก เพราะกว่าจะรู้ว่าตัวไหนดีหรือไม่ดีต้องเสียเวลาอย่างน้อยประมาณ 9 - 10 เดือน วิธีคัดเลือกแม่พันธุ์ และแม่พันธุ์ไก่ โดยปกตินักนิยมเล่นไก่ชนมักจะเลือกสีเป็นอันดับแรก ดังนั้นไก่ที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ควรเลือกจากไก่ที่มีสีดังต่อไปนี้ 1. สีเหลืองหางขาว 2. สีประดู่หางดำ เดือยดำ เล็บดำ ปากดำ (หรือปากคาบแก้ว) 3. สีเขียวเลา (มีสีเขียวสลับกับสีขาวทั้งตัว หางขาวด้วย) 4. สีเขียวกา หรือเขียวแมลงภู่ (หางดำ)เพราะโบราณกล่าวไว้ว่าไก่ 4 สีนี้เป็นสีที่รักเดิมพันมาก ชนได้ราคาแพง ไม่ค่อยแพ้ ส่วนไก่ สีอื่น ๆ นักเลงเล่นไม่นิยมเล่นกัน เพราะเข้าใจว่าเป็นไก่พันธุ์ผสมมาจากสายเลือดอื่น ที่ไม่ใช่ไก่ชนแท้ อาจจะผสมกับไก่โรดส์ หรือไก่เร็คฮอนก็เป็นได้ น้ำใจไก่พวกนี้จึงไม่ทรหดมาก สำหรับแม่พันธุ์นั้นเวลาใช้ผสมพันธุ์ ควรหาให้เป็นสีเดียวกับพ่อพันธุ์ เวลาให้ลูกจะได้สีเหมือนกัน
คุณสมบัติ และลักษณะของพ่อพันธุ์ไก่นอกจากสีของไก่แล้ว พ่อไก่ควรมีคุณสมบัติ และลักษณะดังต่อไปนี้1. ควรเป็นไก่ที่มีประวัติที่ดี เคยชนชนะจากบ่อนมาแล้ว 2. ปากต้องใหญ่ มีร่องน้ำ 2 ข้างปากลึก (ปากสีเดียวกับขา) 3. นัยตาควรเป็นสีขาว (หรือที่เรียกว่าตาปลาหมอตาย หรือตาสีขน สีเดียวกับสร้อยคอ) 4. คอใหญ่ และปล้องคอถี่ ๆ 5. หัวปีกต้องใหญ่ และขนปีกยาว 6. นิ้วเล็กเรียวยาว 7. เม็ดข้าวสารท้องแข้งใหญ่ และแข้งกลม 8. สร้อยคอยาวติดต่อกันถึงสร้อยหลัง 9. หางยาวแข็งและเส้นเล็ก 10. กระดูกหน้าอกใหญ่และยาว 11. เดือยใหญ่ และชิดนิ้วก้อยมากที่สุด 12. อุ้งเท้าบางและเล็บยาว 13. เกล็ดแข้งใสเหมือนเล็บมือ และมีร่องลึก
ชั้นเชิงของไก่ชน
ปกติไก่ชนจะมีชั้นเชิงการต่อสู้อยู่ 2 อย่าง คือไก่ตั้ง และไก่ลง ส่วนไก่กอดนั้นเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ไก่ตั้ง แม่พันธุ์ไก่ลง หรือพ่อพันธุ์ไก่ลง กับแม่พันธุ์ไก่ตั้ง ลูกออกมาจึงกลายมาเป็นไก่กอด ส่วนนักเลงเล่นส่วนมากชอบไก่ตั้ง เพราะการต่อสู้ของไก่ตั้งนั้นเหนื่อยช้าไม่ต้องวิ่งมาก เพราะยืนคอยดักตีอย่างเดียว แต่บางคนชอบไก่เชิง เพราะไก่เชิงไม่ค่อยเจ็บตัวเวลาเข้าชนจะลักตีขโมยตี ดังนั้นถ้าท่านจะผสมก็ควรเลือกชั้นเชิงไก่ให้เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้าท่านชอบไก่เชิง ก็ควรหาตัวเมียที่มีชั้นเชิงเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านชอบไก่ตั้ง ก็ควรเลือกตัวเมีย ให้ตั้งเหมือนตัวผู้ ถ้าท่านไม่เลือกชั้นเชิงให้เหมือนกันแล้ว ลูกออกมาจะชนเลอะเทอะเป็นไก่โง่ ควรระวังให้มาก เพราะปกติไม่ค่อยคัดเลือกไก่กัน ผสมกันเรื่อยไปจึงไม่ค่อยได้ไก่เก่ง ได้น้อยตัว

สมุนไพรไก่ชน

เรื่องของสมุนไพรไก่ชน สมุนไพรสำคัญสำหรับคนและสัตว์ สมุนไพรที่เอามาใช้กับคนก็ไม่แตกต่างอะไรกับสมุนไพรที่ใช้กับสัตว์ เช่นไก่ชนเลย เพียงแต่มีความแตกต่างกันบ้างในสมุนไพรบางอย่าง ที่อาจจะน้อยหรือมากกว่า ของคนเราเท่านั้น รวมกับขนาด ปริมาณ ที่จะต้องเอามาใช้ด้วย เพราะขนาดรูปร่าง น้ำหนัก ของไก่ที่แตกต่างกว่ารูปร่าง น้ำหนักของมนุษย์เท่านั้น สมุนไพรกับไก่ชนใช้กันมาช้านาน สมุนไพรไก่ชน มีอยู่แล้วในสมัยโบราณ เพราะบรรพบุรุษไทยเราท่านนำเอาไก่ชนมาตีกัน ชนกัน เป็นกีฬามาช้านาน ตั้งแต่ยุคสมัยเก่าก่อนยุคสมัยของสุโขทัย เมื่อไก่ชนเกิดอาการเจ็บ ป่วยขึ้นมาจำเป็นจะต้องเอาสมุนไพรมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยนั้น สมุนไพรไก่ชนน่าสนใจ น่ารู้ และน่ารวบรวมเอามาเพื่อบรรดานักเล่น นักเลี้ยงไก่ชนทั้งหลาย จะได้เข้าใจ และรู้จักมากขึ้น เอาไปใช้ประโยชน์ได้ดี ได้ผล เพื่อเป็นการ ใช้กันอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามวิธีการที่สืบทอดต่อเนื่องกัน สัตว์เล็กๆ มีประโยชน์ ในสมัยก่อนนั้น นอกจากเอาข้าวเปลือกให้ไก่ชนได้กินอย่างดีแล้ว สิ่งที่เป็นอาหารชั้นดีของไก่ชนก็จะต้องเป็นแมลงต่างๆ สัตว์ตัวเล็กๆที่มีอยู่เป็นต้นว่า เขียดตัวเล็กๆ หอยบางชนิด ที่แกะเอาแต่เนื้อมาให้ไก่กิน จิ้งจก จัดว่าเป็นอาหารไก่ชนชั้นเยี่ยมในยุคสมัยโบราณเอาให้ไก่กินเสมอๆไก่ชนของท่านที่เลี้ยงไว้จะร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงกำลังดีแข็งแกร่งฉกรรจ์ยิ่งนักทีเดียว ปลวก การเอาตัวปลวกมาให้กินนับว่ายอดเยี่ยมยิ่งนัก ขุดเอาดินจอมปลวกที่มีปลวก เอามาสับๆไก่ชนจะชอบเป็นพิเศษนี่ก็ได้พลังร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแกร่งมาก กระดูกก็สำคัญสำหรับไก่ชน กระดูกไก่เล็กๆ โครงไก่ เอามาสับละเอียด ให้ไก่กินก็เยี่ยมเช่นกัน เป็นอาหารสดที่มาจากเนื้อสัตว์ที่ดี ได้แคลเซียมยมจากกระดูกสัตว์ดังกล่าวอีกด้วย การเอาสมุนไพรบางอย่างมาผสมกับอาหารไก่ชนก็เป็นเรื่องที่ดีมากอีกอย่างหนึ่ง โดยการเอาสมุนไพรที่เหมาะสมมาโขลกละเอียดเสียก่อน แล้วเอามาผสมกับอาหาร ซึ้งแล้วแต่ว่าผู้เลี้ยงไก่แต่ละราย จะต้องการอย่างไร อาจจะเอาสมุนไพรบางอย่างที่โขลกหรือบดละเอียดมาผสมเข้าไปด้วย เช่น ใส่ผสมลงไปกับโครงไก่สับ ผสมรวมกัน คลุกเคล้ารวมกันไปกับลำข้าวก็ยังได้อีกด้วย เป็นการกินอาหารไป พร้อมกับกินสมุนไพรที่เอาไปบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือช่วยย่อย คุมธาตุ ทำให้ระบบการย่อย อาหารเป็นไปได้ด้วยดี หากการกินอาหารหลักเพียงอย่างเดียว เช่นข้าวเปลือก อาการขาอ่อนก็จะเกิดขึ้น ร่างกายอาจจะขาดสารอาหารบางอย่างก็ได้ ยิ่งถ้ากักขัง เอาไว้ในเล้า ในสุ่ม ไก่ชนไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่ได้จิกตัวแมลงกิน ไก่ชนก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ เมื่อเลี้ยงเป็น เลี้ยงดี ก็ทำให้ไก่ชนได้รับอาหารที่มีคุณค่า มีสารอาหารที่ดี มาเสมอรวมกับได้รับยาสมุนไพรที่เป็นประโยชน์อีกทำให้มีภูมิต้านทานโรคที่สูงท้องไส้ระบบการย่อยอาหารก็ดีเป็นปกติ เพราะกินยาสมุนไพรคุมธาตุช่วยย่อยขับถ่ายดี เพราะมีการ ระบายด้วย อาหาร และยาสมุนไพรไปในตัวเวลากินอาหาร ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงดีมาก เพราะมีโอกาสกินยาสมุนไพรบำรุงเข้าไปรวมกับอาหาร อาหารสดๆที่กล่าวมานั้น เป็นอาหารจากธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมในการเอามาให้ไก่ชนกิน เพราะมีคุณค่ามากมายในโภชนาการที่เป็นอยู่ พืชสมุนไพรสำคัญสำหรับไก่ชน พืชสมุนไพรทั้งหลายนั้น จะต้องทราบด้วยว่าจะเอาส่วนใดมาปรุงเป็นยาได้บ้าง หัว หรือ เหง้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น เหง้ากระชาย เหง้าข่า เหง้าขิง เหง้าขมิ้น ฯลฯ ราก ของยาสมุนไพรก็เอามาปรุงเป็นยาได้ด้วยเช่น รากต้นถั่วพู รากต้นมะพร้าว รากไทรย้อย รากชะพลู ฯลฯ เมล็ด เป็นส่วนหนึ่งของพืชสมุนไพร ที่เอาเมล็ดมาปรุงเป็นยาสมุนไพรก็ได้ เช่น เมล็ดพริกไทยดำ เมล็ดข่อย เมล็ดแมงลัก ฯลฯ แก่น ของต้นสมุนไพรก็เช่นเดียวกัน มีหลายชนิด เช่น แก่นสัก แก่นขนุน แก่นขี้เหล็ก แก่นจำปา ฯลฯ ใบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพืชสมุนไพรได้ดี ใบจากพืชสมุนไพรมีมากมายหลายชนิดทีเดียว เป็นต้นว่า ใบฝรั่ง ใบมะกรูด ใบชะพลู ใบพลับพลึง ใบเตยหอม ฯลฯ ยอดอ่อน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นพืชคือ ยอดอ่อนนั้นเอง เป็นต้นว่า ยอดแค ยอดผักบุ้งนา ยอดกระเฉด ยอดกระถิน ฯลฯ ผล ของพืชสมุนไพรก็มีอยู่เช่น ผลมะตูม ผลสมอ ผลมะระ ผลมะยม ฯลฯ เกสรดอกไม้ เอาส่วนของเกสรดอกไม้มาใช้ประโยชน์ก็ได้เช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า เกสรบัวหลวง เกสรดอกคำฝอย เป็นต้น พืชสมุนไพรต่างๆนั้น เอายังสดๆ หรือตากแห้งแล้วก็ได้ บางทีเอามาใช้อย่างอ่อน หรืออย่างที่แก่ก็ได้ ใบอ่อน ใบแก่ ฝักอ่อน ฝักแก่ ส่วนมากแล้วจะระบุเอาไว้อย่างชัดเจน ทีเดียว อย่างขิงก็เช่นเดียวกัน เป็นขิงอ่อน หรือ ขิงแก่จะต้องบ่งบอกเอาไว้ในตำรายาเสมอ เพื่อให้ผู้ปรุงยาได้ทราบอย่างถูกต้องตรงตามตำหรับยาเสมอ สมุนไพร บางอย่างนั้น บางทีจะต้องทำให้อ่อนลงมาเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็มีสรรพคุณที่แรงมากเกินไปได้อาจจะเกิดอันตรายขึ้นมาทำให้ผู้ป่วยเมาหรือเกิดพิษอย่างเช่น เมล็ดสลอด ยางของต้นสลัดได (กระบองเพชร ) ชะมดเช็ด เป็นต้น สมุนไพรบางชนิดอาจจะเสื่อมคุณภาพลงไปก็ได้ เช่น เก็บเอาไว้นานเกินสมควรคุณภาพก็เปลี่ยนแปลงไป อ่อนสรรพคุณลง ออกฤทธิ์ไม่ได้นานเท่าที่ควรอย่างที่เป็นสมุนไพรใหม่ๆ การเอาสมุนไพรมาปรุงเป็นยาจึงต้องระมัด ระวัง อย่างมาก สมุนไพรไก่ชนสำคัญมากต้องใช้ "จะต้องเอามาใช้อย่างดี ถูกต้อง เพราะความถูกต้องนั้นคือหัวใจของการใช้สมุนไพรที่ดี " การเก็บเอาเหง้าหรือหัวของสมุนไพรใต้ดิน ก่อนอื่น จะต้องมีความระมัดระวังอย่าให้หัวหรือเหง้าของพืชสมุนไพรที่กำลังขุด เกิดการฉีก ขาด เสียหาย ชอกช้ำ เป็นอันขาด แม้การเอาสมุนไพรชนิดที่เป็น เหง้าหรือหัวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อาจจะมีความละเอียดอ่อนมากกว่าการไปเอา ใบ เปลือก ดอกเสียด้วยซ้ำการขุดจะต้องพิจารณาดูให้ดีขุดโดยรอบเป็นบริเวณกว้าง เสียก่อนจึงค่อยๆขุดเข้าไปหาเหง้าหรือส่วนหัวทีละน้อย อย่าง ปราณีต บรรจง เพื่อป้องกันการเสียหายดังกล่าว เมื่อได้มาแล้วก็นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด ต้องระวัง อย่าให้เปลือกนอกชอกช้ำเป็นอันขาด เกิดริ้วรอยตำหนิขึ้นมาแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ดีเลย เหง้า หัว สมุนไพรบางอย่างอาจจะต้องเอามาตากแห้งอีก เพื่อให้น้ำที่อยู่ภายในระเหยออกไปให้หมด แล้วจึงเก็บเอาไว้ในโหล ภาชนะปิดฝาสนิทแน่น ถ้าเกิดเป็น เหง้า หัว ที่มีขนาดใหญ่กว่าธรรมดาอาจจะต้องเอามาหั่น เอามาฝาน เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ก่อนก็ได้ การเก็บสมุนไพรทั้งหลายนี้ มีข้อกำหนดว่า หากเป็นพืชสมุนไพรที่เป็น เหง้า หัว ถ้าจะให้ดีถูกต้องตามตำราโบราณ ควรขุดเอาตอนที่สมุนไพรกำลังออกดอก ซึ้งมีความหมายถึงพืชสมุนไพรนั้นแก่จัด สรรพคุณทางยามากมายที่สุด การเก็บเอาดอกของพืชสมุนไพรมาปรุงยาอย่างถูกต้อง ตามตำราโบราณระบุเอาไว้ว่า สมควรเลือกเก็บเอาดอกไม้ที่เป็นดอกสมุนไพรทั้งหลายในเวลาที่กำลังเริ่มเบ่งบานออกมา เรียกว่ากำลังแรกแย้มออกมาจะดีที่สุด เป็นเวลาที่พืชกำลังแก่จัด มีสรรพคุณทางยาที่ดีมากที่สุด มีสารสำคัญทางยาที่มีอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในช่วงเวลานี้ ดอกที่ตูมก็ไม่ดี ดอกที่บานจนมากที่สุดแล้วก็ไม่ดีพอ ดอกที่บานจนโรยราก็ไม่ดีอีกเช่นกัน ใบพืชสมุนไพร ตำราระบุเอาไว้ว่า ให้เก็บเอาใบพืชสมุนไพรที่เรียกว่า เพสลาด มาใช้ประโยชน์ ก็จะต้องเก็บเอาตามนั้น ใบเพสลาด ก็หมายถึงใบที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป อ่อนไปก็ไม่เหมาะแก่เกินไปก็ไม่ดี สรรพคุณทางยาอ่อนลงไปแล้ว จึงกำหนดเอาใบที่ไม่แก่ ไม่อ่อนจนเกินไปเท่านั้น จะได้สรรพคุณทางยาที่เต็มเม็ด เต็มหน่วยมากกว่า การทำให้พืชสมุนไพรแห้งอย่างถูกวิธี ไม่มีอะไรดีไปกว่าการตากแดดให้แห้ง การอบ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง อบให้แห้งแล้วก็ทำลายเชื้อต่างๆที่อาจจะมีอยู่ในสมุนไพรนั้นๆ แล้วเก็บสมุนไพรนั้นเอาไว้นานๆโดยไม่เสียหาย ไม่เสียสรรพคุณทางยาไปไหน เพียงแต่เป็นการไล่น้ำที่มีอยู่ให้ระเหยออกไปเท่านั้น เหลืออยู่แต่สารที่สำคัญของสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างเข็มข้น สามารถนำมาใช้ปรุงยาได้อย่างมีสรรพคุณที่ดีเสมอ เพียงเก็บเอาไว้อย่างดี อย่าให้เกิดความชื้น ขึ้นรา เกิดมีตัวมอดมากัดกิน หรือมีฝุ่นละอองเข้าไปสร้างความสกปรกเข้าเท่านั้น เก็บพืชสมุนไพรที่ถูกต้อง ทำอย่างไร ? เมื่อได้สมุนไพรที่ดีมาแล้วอย่างถูกต้องสมุนไพรที่แห้งสนิท ผ่านการตาก หรืออบแห้งมาแล้ว ในทางที่ควร ให้บรรจุลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทแน่นอากาศผ่าน เข้าไปไม่ได้ ภาชนะก็แห้งสนิท ปราศจากความชื้น ทำให้พืชสมุนไพรที่เก็บเอาไว้มีสรรพคุณทางยาที่ดีอยู่เสมอไม่เสื่อมคุณภาพโดยง่าย ระวังเรื่องแมลงหรือสัตว์บางชนิดมารบกวน แสงแดด แสงสว่าง เป็นอันตรายแก่สมุนไพรได้ พืชสมุนไพรที่ตาก หรืออบแห้งดีแล้วนั้น หากเก็บเอาไว้ในที่ สว่างมากหรือมีแสงแดดส่องถึงอยู่ทุกวันๆนั้น ทำให้เสื่อมสลายลงไปได้ คุณภาพจะด้อยลงไปเรื่อยๆ การเก็บควรเอาไว้ในที่มืดๆจะดีกว่าในที่สว่างมากๆ การเก็บสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยก็สำคัญ ต้องเก็บเอาไว้อย่างมิดชิด ป้องกันการระเหยของน้ำมัน เก็บเอาไว้ในภาชนะเช่น ขวดโหล ภาชนะที่มีฝาปิดสนิทแน่นจริงๆ เปลือกของพืชสมุนไพร ก่อนอื่นจะต้องอย่าลืมว่าจะต้องได้เปลือกที่จัดได้ว่าเป็นต้นแก่เพียงพอแล้ว ไม่ใช่เอามาจากต้นอ่อนๆ ยังไม่มีสรรพคุณทางยาที่มากมายเพียงพอ ในการไปเอาเปลือกสมุนไพรที่มีชื่อว่าต้นตะโกนา จะต้องปฏิบัติตามตำราเอาไว้ ต้นโต ต้นสูงมากแล้ว อายุนั้นจัดได้เลยว่าจะต้องไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะเอามา ใช้ผลได้ดี ปรุงยาได้สรรพคุณแน่นอน การเอาเปลือกสมุนไพรมาจากลำต้นก็เป็นเรื่องสำคัญทีเดียว ในการเอาเปลือกสมุนไพรมาจากต้นที่แก่ได้ที่แล้วนั้นมีวิธีการสำคัญ ควรเลือกเอาในเวลาตอนบ่ายแก่ๆจะดีที่สุด ในเวลาที่อากาศร้อนๆนั้นแหละวิเศษหนักหนา มองเห็นแสงแดดสาดส่องไปที่ลำต้นนั้นอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นเวลาที่ต้นไม้เกิดการสังเคราะห์กับแสงแดดอยู่พอดีตามธรรมชาติที่เป็นอยู่กับออกซิเจน ส่วนของใบก็กำลังมีขบวนการชีวะสังเคราะห์ปรุงอาหารอยู่อีกด้วย เพราะรากของต้นไม้ก็ดูดซึมดูดเอาน้ำเลี้ยงอันเป็นยอดอาหารขึ้นมาจากรากใต้ดินขึ้นมา ทางลำต้น ทางเปลือกไม้โดยรอบลำต้น ต่อเนื่องกันมาถึงกิ่งก้าน จนไปสู่ใบทีเดียว เปลือกของลำต้นไม้สมุนไพรกำลังมีสารสำคัญปรากฏอยู่มากตาม ธรรมชาติ สรรพคุณทางยามีมากก็อยู่ในเวลานี้ด้วย การกรีดเปลือกจะต้องเอามีดคมๆ กรีดลงที่เปลือกต้นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวๆ ลงไปตามลำต้น ห้ามกรีด ขวั้นรอบๆลำต้นเด็ดขาด กรีดเปลือกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดึง ลอกเอาเปลือกออกไปทันที แล้วเอาปูนแดงทาเอาไว้ที่แผลเปลือกที่ถูกลอกเอาไปให้ทั่ว ป้องกันเชื้อราไม่ให้ มาทำอันตรายต้นไม้ที่บาดแผลนี้ได้ง่ายๆ สำหรับการไปเอาเปลือกสมุนไพรในเวลาสายๆก็เป็นไปได้ สมควรลอกเอาเปลือกในเวลาก่อนเที่ยงวันก็จะดี เช่นในเวลา11.00 น.เลือกเอาในส่วนที่สัมผัสกับแสงแดด จะได้สรรพคุณทางยาได้มากกว่าที่อื่นๆ วิธีการเอาเปลือกสมุนไพรที่บริเวณกิ่ง วิธีการก็ได้แก่ กรีด ลอก เอาเปลือกมาจากส่วนโคนกิ่งใหญ่ จัดการล้างน้ำให้สะอาด เอาเศษผง เศษความสกปรกออกไปให้หมดสิ้น ขูดด้วยคมมีดเอาส่วนที่เป็นผิวของ เปลือกที่เป็น ขุย เป็นเศษผงสกปรกพอกอยู่เอาออกไปด้วย ล้างทำความสะอาดให้ดี แล้วเอามาหั่นเป็นชิ้นบางๆ หั่นในเวลาสดๆจะสะดวก ง่ายดายกว่ามาก วิธีนึ่งให้สุก คือการเอามานึ่งให้สุก นึ่งเพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ ให้หมดไป แล้วเอามาตากแดดให้แห้งสนิทอีกครั้ง หรือจะเอาไปอบแห้งก็ได้ แล้วเก็บเอาไว้ในภาชนะที่เหมาะสม ปิดมิดชิด เถาสมุนไพร ควรเก็บเอามาทำอย่างไรดี ? พืชสมุนไพรที่เป็นเถา มีอยู่มากมาย เช่น บอระเพ็ด เถาวัลย์เปรียง พลู โคคลาน คนทีสอขาว โคกกระออม คัดเค้า ชะเอมไทย ชะเอมจีน ตีนเป็ดเครือ ทองระอา สะค้าน ส้มป่อย สีฟันเครือการเอาพืชสมุนไพรที่เป็นเถามาใช้ประโยชน์ จะต้องเลือกเอาที่มีอายุมากเพียงพอถึงจะมีสรรพคุณทางยาที่มาก อย่างน้อยก็น่าจะมีอายุมากเกินกว่า 3 ปี การเก็บรักษาก็เหมือนๆกัน สมุนไพรที่เป็นเหง้า หัว เล็กๆ เมล็ดพริกไทย เป็นสรรพคุณทางยาที่ดีในด้านขับลม ช่วยย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อท้องขึ้นได้ดี วิธีการเก็บรักษาก็เหมือนกัน เมล็ดข่อย สมุนไพรที่เป็นเม็ดคล้ายๆกับเม็ดพริกไทย วิธีการเก็บรักษาก็เหมือนกัน เอามาปรุงผสมผสานกับตัวยาอื่นๆได้เสมอ เรื่องความสะอาดสำคัญมากในการปรุงยา

ตำนานและประวัติไก่ชนกับพระนเรศวร


ตำนานและประวัติไก่ชนกับพระนเรศวรการตีไก่ เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในพม่า โดยเฉพาะในราชสำนักถือกันว่า การตีไก่เป็นกีฬาชาววังวันหนึ่งได้มีการตีไก่กันขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับไก่มังชัยสิงห์ ราชนัดดา(ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชาในสมัยพระเจ้านันทบุเรง ราชโอรสพระเจ้าบุเรงนอง กำลังกร่ำศึก) มังชัยสิงห์จึงขัดเคืองตรัสประชดประชันหยามหยันออกมา อย่างผู้ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่า "ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ" สมเด็จพระนเรศวรสวรจึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่าง วันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้มังชัยสิงห์คัดเคืองมากหากแต่ตระหนักดีว่าสมเด็จพระนเรศวร เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าบุเรงนองจะพาลวิวาทก็ยำเกรงฝีมือพระนเรศวร ขณะที่ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรกับไก่ของพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี กำลังชนกันอย่างทรหด ต่างตัวต่างเข้าจิก ตีฟาดแข้ง แทงเดือยอย่างไม่ลดละ อย่างคาดไม่ถึง ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวันเมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ของพระนเรศวรกระพือปีกอย่าง ทรนงและขันเสียงใส พระมหาอุปราชถึงกับสะอึก สะกดพระทัยไว้ไม่ได้จากตำราเชื่อว่าไก่ที่พระนเรศวรทรงนำไปชนกับพม่านั้น นำไปจากบ้านกร่าง เดิมเรียกว่าบ้านหัวเท ซึ้งอยู่ห่างจากเมืองพิษณุโลก ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 9 กิโลเมตร ขณะที่ชนไก่ พ.ศ. 2121 พระชันษา 23 ปี ลักษณะทั่วไปของไก่ชนพระนเรศวร เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ พันธุ์เหลืองหางขาว ตามตำรากล่าวว่า ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง ในทุกพื้นที่ที่มีการเล่นไก่ชน ไก่เหลืองหางขาวมักจะเป็นตัวเอกทุกๆ สังเวียนอยู่เสมอ หรือแทบจะเรียกได้ว่าไก่พันธุ์นี้อยู่ในความครอบครองของนักเลงไก่อยู่เสมอ ไก่เหลืองหางขาวจัดว่าเป็นไก่ที่มีสกุลและมีลักษณะเด่นมาก จากประวัติฝีมือความสามารถ ทำให้มีการพูดเสมอในวงพนันว่า ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ หมายความว่าเมื่อนำไก่สีนี้ไปตี สามารถที่จะเชื่อมั่นได้ว่า จะต้องเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอนสามารถสั่งเหล้าเงินเชื่อมากินก่อนได้เลย ไก่เหลืองหางขาวที่มีลักษณะตรงตามตำราหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง สร้อยระย้า หน้านกยูง อกชัน หวั้นชิด หงอนบิด ปากร่อง พัดเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม

ความเป็นมาไก่ชนไทย


ไก่ชนไทยเป็นที่รู้จักกันดีและมีชื่อเสียงในทวีปเอเชีย ในด้านความสวยงามและทักษะในการต่อสู้ ไก่ชนไทยมีกำเนิดในทวีปเอเชียตอนใต้พัฒนาจากไก่ป่าสีแดงในแถบอินโดจีน พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย พันธุ์ไก่ชนไทยได้รับการคัดเลือกพันธุ์ ผสมพันธุ์ พัฒนาโดยนักเล่นไก่ชนไทยมากว่า 500 ปีในชนบท การเลี้ยงไก่ชนเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีพแทบทุกหมู่บ้าน เลี้ยงปล่อยหลังบ้านเพื่อการนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและเป็นแหล่งอาหารที่มีรสชาติดี มีคุณภาพ1. เจ้าเนื้อ ลำตัวยาว หน้าอกกว้าง ปั้นท้ายกว้าง และปั้นขาใหญ่2. สง่า สีสันสดใส สวยงาม3. แข็งแรงและทนทานต่อโรค4. มีลักษณะนิสัยเป็นนักสู้ตามธรรมชาติ ฉลาด มีชั้นเชิง ตีแม่นยำ และมีความอดทนเป็นเลิศ5. ความสามารถในเชิงกีฬา เป็นการเพิ่มมูลค่า6. ฟักไข่และเลี้ยงลูกเก่ง7. คุ้ยเขี่ยหาอาหารกันเก่ง ใช้อาหารจากธรรมชาติเป็นหลัก8. ชอบกินหนอนและแมลง เป็นสัตว์ช่วยลดปริมาณศัตรูพืช9. ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ10. เนื้อแน่น รสชาติดี มีไขมันต่ำ และปลอดภัยจากสารพิษอุดมทัศนีย์ไก่ชนไทยสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย และกรมปศุสัตว์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของไก่พื้นเมืองไทยที่เป็นต้นพันธุ์ของไก่ชนที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน จึงได้ทำการรวบรวมลักษณะและมาตรฐานไก่พื้นเมืองไทย 11 สายพันธุ์ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในแนวทางในการศึกษาวิจัย พัฒนาปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์พันธุกรรมที่ดีของไก่พื้นเมืองไทยให้ยั่งยืนต่อไป

ไก่ชนไทย


ไก่ไทยเป็นไก่ที่มีลีลาฝีตีนแพรวพราว มีทั้งลูกล่อลูกชนยากจะหาไก่ชาติใดๆเสมอเหมือน คือ ทั้ง กอดขี่ บดบี้ ขยี้ ล็อก เท้าหุ่น ตีตัว มุดมัดและมุดลอดทะลุขา เมื่อเปรียบกับไก่ชาติอื่นๆแล้วถือว่าไก่ชนไทยมีภาษีดีกว่าไก่ชนชาติอื่นๆ แล้วทำไมไก่ชนไทยจึงตีต่อสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ หรือเป็นเพียงคำพูดที่กล่าวกันเล่นๆ หรือต้องการโปรโมทไก่ชนต่างชาติ แต่ข้อเท็จจริงแล้วมีดังนี้
1. ไก่ชนไทยกับไก่พม่าลูก 100% ไม่มีโอกาสตีกันได้ หรือตีได้ก็น้อยคู่มาก เพราะขนาดของไก่ไทยกับไก่พม่าเป็นไก่คนละขนาด คือ ไก่พม่าแท้ๆจะมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กก. ตัวที่โต 3.00 กก. ขึ้นมีน้อย ส่วนไก่ไทยตัวที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 กก. ก็มีน้อยแทบนับตัวได้ ยกเว้นไก่ป่าก๋อยที่มีขนาดเล็ก ไก่พม่าที่นำมาตีกับไก่ไทยในทุกวันนี้ ส่วนมากเป็นลูกผสม หรือลูกผ่านที่นำไก่พม่ามาผสมกับไก่ไทย เป็นไก่ที่มีเลือดพม่า 50% บ้าง 25% บ้าง ซึ่งจะมีขนาดโตประมาณ 3.00-3.20 กก. สำหรับไก่ลูกผสมพม่าที่มาตีกับไก่ไทย 100% นั้น ก็มีแพ้ มีชนะ ไม่ได้ชนะไก่ไทยทุกตัว ดังนั้นจะสรุปว่าไก่ไทยสู้ไก่พม่าไม่ได้นั้นจึงไม่เป็นความจริง เหตุที่เขานิยมไก่ลูกผสมพม่า ก็เพราะตัวไก่ลูกผสมตัวใดมีลีลาชั้นเชิงแบบไก่พม่า ก็เป็นไก่ที่สามารถปราบไก่เชิงกอดขี่ได้ ซึ่งไก่เชิงกอดขี่นี้เป็นไก่ที่นิยมเลี้ยงกันมาก ด้วยเหตุนี้เขาจึงนำไก่ลูกผสมพม่ามาเล่นเพื่อแก้ทางไก่เชิง ความจริงไก่พม่าก็แพ้ทางไก่ประเภท เดินอัด เดินบี้จี้ไม่ห่าง จิกหลังจิกไหล่ตี ตีหน้าคอ หน้าอุด ตีตัว ตีหลัง ไก่พม่าทนไม่ได้เพราะกระดูกบาง ถอดใจหนีง่ายๆ อีกอย่างหนึ่ง ไก่พม่ามักจะแพ้ทางไก่ประเภท ลูกหน้าไวและไก่แข้งเปล่า หรือดีดลูกหน้าไว เข้าทำนองหมองูตายเพราะงู ดังนั้นถ้าเราหาไก่ไทยที่มีชั้นเชิงดังกล่าว ก็สามารถสู้ไก่พม่าได้ ไม่ว่าจะเป็นลูก 100% หรือลูกผสม
2. ไก่ชนไทยกับไก่ไซง่อนลูก 100% ไก่ไทยกับไก่ไซง่อนมีโอกาสตีกันได้มากกว่าไก่ไทยกับไก่พม่าลูก 100% เพราะมีขนาดใกล้เคียงกัน ข้อเท็จจริงไก่ไซง่อนมีจุดเด่นมากกว่าไก่ไทยทั่วไป คือ กระดูกโครงสร้างใหญ่ ผิวหนังหนากว่าไก่ไทย ปอดใหญ่กว่า ตีหนัก ลำโต แต่ไก่ไซง่อนมีจุดอ่อนที่อืดอาด ช้าไม่คล่องตัว ลีลาชั้นเชิงมีน้อย ไก่ไซง่อนลูก 100% ไม่น่ากลัว ไก่ไทยสามารถสู้ได้ คือ เราต้องหา ไก่ตีแผล ตีวงแดง ตีบ้องหู และต้องเป็นไก่ปากไว ไก่ไซง่อนที่เขากลัวกันทุกวันนี้ไม่ใช่ไซง่อนลูก 100% แต่เขากลัวลูกไซง่อนผสม ที่ผสมไทย ผสมพม่า เพราะไก่ไซง่อนลูกผสมบางตัวมักเป็นไก่ปากไว ตีแม่นและตีลำโต แถมมีโครงสร้างและผิวพรรณแบบไก่ไซง่อนด้วย
3. เวลาชนของแต่ละยก เรื่องเวลาของแต่ละยกในการชนไก่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไก่ไทยสู้ไก่เทศไม่ได้ เพราะเวลาของการชนแต่ละยกเพิ่มขึ้น จาก 20 นาที เป็น 23-25 นาที เพื่อให้ไก่แพ้ชนะกันไวขึ้น ซึ่งไก่ไทยสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ตรงนี้เอง เพราะไก่ไทยโดยสภาพร่างกายมีปอดเล็กกว่าไก่ไซง่อน ดังนั้นเมื่อยืดเวลาในการตีออกไป ไก่ไทยจะหอบ และถูกตีในช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 20 เป็นต้นไป อีกสาเหตุหนึ่งไก่ไทยเป็นไก่เชิงขยันตี จึงต้องออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยมากเหนื่อยไว โดยสรุปภาพรวมแล้ว ไก่ไทยสามารถสู้กับไก่ต่างประเทศทุกสายพันธุ์ได้ ไก่ไทยสู้ได้ขอเพียงแต่
1. นักเพาะไก่ทั้งหลาย ให้เพาะไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงในการตีไว ตีแม่น ตีเจ็บให้มากกว่าไก่เชิง อย่าเอาไก่เชิงมากไปผสมกับไก่เชิงมากเช่นกัน ลูกไก่ที่ได้จะเป็นไก่เชิงล้นไม่ค่อยตี พอไปตีก็มัวแต่เล่นเชิง พอถูกตีตัวและเหนื่อยเข้าก็หมดเชิง แต่ถ้าเพาะได้ ไก่เชิงดี ถี่ แม่น ลำโต ก็สามารถพูดได้ว่าไก่ไทยเก่งที่สุดในโลก
2. ไก่ไทยเป็นไก่หนังบาง ส่วนไก่ไซง่อนเป็นไก่หนังหนา หากตีกันโดยมีการพันเดือยหรือสวมนวม ก็ไปเข้าทางของไก่ไซง่อน หากจะตีกับไก่ไซง่อนต้องตีแบบปล่อยเดือยตามธรรมชาติ ไก่ไซง่อนเจอเดือยเข้าก็สู้ไม่ได้ เพราะไก่ไทยไวกว่า แต่ถ้าตีกับไก่พม่าก็ห้ามปล่อยเดือยเพราะไก่พม่าเป็นไก่แม่นเดือย
3. กำหนดเวลาชน เวลาชนของแต่ละยกต้องอยู่ในเวลา 20 นาทีอย่าให้เกินกว่านี้

เคล็ดลับการทำตัวและฟิตซ้อม 9 วัน (แบบว่าอยากชน)


การเลี้ยงไก่ชนเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่ง ไม่ใช่ว่าจะเลี้ยงสุ่มสี่สุมห้าแล้วนำไปชนในสนามได้ ซึ่งจะทำให้เจ้าของไก่เสียทั้งไก่ เสียทั้งเงินเสียทั้งเวลา ก่อนอื่นจะต้องเลือกไก่ชนจากเหล่าสายพันธุ์ที่ดี มีชันเชิง เฉลียวฉลาด อึดทน ปากไว ตีแม่น ลำโต แล้วนำมาทำตัวหรือฟิตซ้อมและบำรุงซุ้มไก่แต่ละซุ้มจะมีขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงคล้ายๆกัน จะแตกต่างกันตรงที่การให้อาหารเสริม กับยาบำรุงและน้ำเลี้ยงขั้นตอนการออกกำลังกาย มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปอันนี้ก็แล้วแต่สูตรใครสูตรมัน ผมอยากจะแนะนำ สูตรหนึ่งที่เห็นว่าน่าจะได้ผลดี โดย คุณ ภานุพงษ์ ประภาพรพิทักษ์ ได้ลงไว้ที่หนังสือลีลาไก่ชน ชุด2 แม่ไม้ไก่เชิง หลังจากที่เราได้คัดไก่แล้ว ต้องทำการปล้ำให้ได้ประมาณ 10-15 อัน เพื่อดูแววของไก่และความเฉลียวฉลาดในการตีแล้วนำมาถ่ายพยาธิ เสร็จแล้วทำการฟิตซ้อม วันที่1 ตอนเช้า วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่2 ตอนเช้า วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่3 ตอนเช้า วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่4 ตอนเช้า ล่อ โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่5 ตอนเช้า ล่อ โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่6 ตอนเช้า ล่อ โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่7 ตอนเช้า ลงนวม กราดน้ำ ลงลูกประคบ กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่8 ตอนเช้า วิ่งสุ่มเบาๆ โยนเบาะน้อยลง ลงลูกประคบ กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่มเบาๆ โยนเบาะน้อยลง กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วันที่9 ตอนเช้า กราดน้ำ กราดแดด ปล่อยตาข่าย ตอนบ่าย กราดน้ำ กราดแดด ปล่อยตาข่าย ทั้งหมดนี้เป็นสูตร 9 วัน หมายเหตุ แต่ถ้าไก่เป็นไก่เชิงให้ลดจำนวนครั้งในการโยนเบาะน้อยลงหรือครึ่งหนึ่ง( ปกติโยนเบาะรอบละ 100 ครั้ง แบ่งเป็นรอบเช้าและเย็นและลงลูกประคบให้บางๆ เพราะถ้าลงลูกประคบหนาจะทำให้เนื้อตัวตรึง) ขั้นตอนในการออกกำลังกาย ขอให้ออกกำลังกำลังตั้งแต่เริ่มปล้ำจนถึงวันออกชนเมื่อทำครบตามขั้นตอนนี้แล้วจะทำให้ไก่ชนมีกำลังขากำลังปีกดีมีแรงอยู่ตัวดี น้ำสำหรับอาบไก่มีดังนี้ 1. ไพลประมาณ 5 แว่น 2. ใบตะไคร้หรือต้นตะไคร้ 3 ต้น 3. ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ 4. ใบมะกรูด 5 ใบ 5. ขมิ้นอ้อยหรือขมิ้นชัน นำทั้งหมดมาใส่รวมกันในหม้อแล้วต้มให้เดือดทิ้งไว้พออุ่นๆแล้วค่อยอาบ ยาบำรุงไก่ชน 1. ปลาว่อนตัวใหญ่ย่างไฟแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง 1 ตัว 2. กระชายหัวแก่ๆ ประมาณ 2ขีด 3. พริกไทย 20 เม็ด 4. กระเทียมแห้งพอประมาณ 5. บอระเพ็ดแห้ง 1 ขีด 6. หัวแห้วหมู 1 ขีด 7. ยาดำ พอประมาณ** นำส่วนผสมทั้งหมดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าข้อนิ้ว ให้กิน 1-2 เม็ด ก่อนนอนทุกวันจนถึงวันออกชน**